By using this site, you agree to the Privacy Policy and Terms of Use.
Accept
ForexMonday
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
    ข่าวสำคัญShow More
    ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง
    กันยายน 19, 2023
    รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น
    กันยายน 19, 2023
    “เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง
    กันยายน 12, 2023
    ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน
    กันยายน 12, 2023
    สื่อตีข่าว “คิม จองอึน” เดินทางเยือนรัสเซีย ร่วมถก “ปูติน” สัปดาห์นี้
    กันยายน 11, 2023
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
    ปฏิทินเศรษฐกิจShow More
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 22, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 3, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 2, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2023
    กรกฎาคม 11, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2023
    มิถุนายน 19, 2023
  • บทวิเคราะห์
    บทวิเคราะห์Show More
    USD กับการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐในช่วงเวลา 19:30 น. วันที่ 13/09/2023
    กันยายน 13, 2023
    US30USD มีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 12/09/2023
    กันยายน 12, 2023
    AUDJPY แกว่งตัวระยะสั้น 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    EURUSD มีโอกาสร่วงลงต่อเนื่อง 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    GBPJPY ร่วงลงต่อเนื่อง 1/09/2023
    กันยายน 1, 2023
  • วิดีโอ
    วิดีโอShow More
    รายการประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2023 ติดตามสมาชิก FOMC
    กรกฎาคม 11, 2023
    รายการประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2023 จับทิศทางตลาด
    มิถุนายน 19, 2023
    รายการประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 จับตาสามเหตุการณ์หลัก
    พฤษภาคม 25, 2023
    รายการประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 จับตาประธาน FED คืนนี้
    พฤษภาคม 22, 2023
    รายการประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2023 ติดตามรายงานบ้านมือสองสหรัฐ
    พฤษภาคม 19, 2023
Reading: นักเศรษฐศาสตร์ห่วงโควิดสายพันธุ์ใหม่ไม่จบแค่ ‘โอไมครอน’
Dashboard Forexmonday
ForexMondayForexMonday
Aa
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Search
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Follow US
  • Advertise
© 2022 forexmonday News Network. Design Company. All Rights Reserved.
ForexMonday > Blog > ข่าวสำคัญ > หุ้นและข่าวในประเทศ > นักเศรษฐศาสตร์ห่วงโควิดสายพันธุ์ใหม่ไม่จบแค่ ‘โอไมครอน’

นักเศรษฐศาสตร์ห่วงโควิดสายพันธุ์ใหม่ไม่จบแค่ ‘โอไมครอน’

admin
Last updated: 2021/11/30 at 2:57 AM
admin Published พฤศจิกายน 30, 2021
Share
SHARE

นักเศรษฐศาสตร์ห่วงโควิดสายพันธุ์ใหม่ไม่จบแค่ ‘โอไมครอน’ กระทบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยระยะยาว

ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวในงานสัมมนา Economic Outlook 2022 อนาคตเศรษฐกิจไทย จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า การเกิดขึ้นของโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอไมครอน’ อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญ หรือ Game Changer ที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า เนืองจากมีความสุ่มเสี่ยง หรือ Downside Risk ที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวหากเกิดการแพร่ระบาดรุนแรง ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในปีหน้าที่ต้องอาศัยภาคส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“ตอนนี้ญี่ปุ่นประกาศห้ามชาวต่างชาติเข้าประเทศแล้ว ขณะที่จีนก็คุมเข้มมาตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้ เราคงต้องติดตามดูข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะเผยแพร่ออกมาในอีก 2-3 สัปดาห์ว่าเชื้อชนิดใหม่นี้จะรุนแรงแค่ไหนและหลบเลี่ยงวัคซีนได้หรือไม่ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วรัฐบาลนำไปประกอบการตัดสินใจทำนโยบายต่างๆ ซึ่งหากผลออกมาว่ามันรุนแรงขึ้น ทำให้คนเจ็บหนักหรือตายมากขึ้น นโยบายควบคุมเข้มข้นก็อาจต้องนำกลับมาใช้ ซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิด” ศุภวุฒิกล่าว

ศุภวุฒิกล่าวอีกว่า แม้ว่าโลกผ่านพ้นเชื้อสายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ ไปได้ในครั้งนี้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ในอนาคตจะเกิดเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่อื่นๆ เช่น พาย ซิกม่า หรือโอเมก้า ขึ้นมาได้อีก โดยเชื่อว่าความเสี่ยงจากโควิดจะยังอยู่กับโลกต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งปัจจัยเรื่องการแพร่ระบาดนี้จะส่งผลกระทบต่อการวางยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาวของไทยได้ เพราะภาครัฐจะง่วนกับการจัดการโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ จนสูญเสียสมาธิเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศ

“เป็นที่รู้กันว่าโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาพึ่งพาต่างประเทศจากภาคส่งออกและท่องเที่ยวเยอะ ถ้าเราจะเดินอย่างมั่นคงในระยะยาว เราจะต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เพิ่มการลงทุนในประเทศที่ขาดหายไปนาน ขณะเดียวกันก็ต้องถามตัวเองว่าเราเก่งอะไร จะไปทางอาหารออร์แกนิกหรือธุรกิจสุขภาพดีหรือไม่ เรากล้าหรือเปล่าที่จะสร้างเงื่อนไขให้เกิดอุตสาหกรรมสำคัญของโลกอย่างเซมิคอนดักเตอร์ในไทย อีกหนึ่งเรื่องที่ผมมองว่าน่าทำคือการนำทุนสำรองส่วนเกินที่มีอยู่ 1 แสนล้านบาท มาตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ซึ่งการมาของโอไมครอนอาจทำให้รัฐหลุดโฟกัสไปจากเรื่องเหล่านี้” ศุภวุฒิกล่าว

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า โดยขณะนี้หน่วยงานภาครัฐต่างๆ กำลังติดตามข้อมูลเรื่องนี้เพื่อเตรียมความพร้อมอย่างใกล้ชิด

“ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่นี้ยังมีออกมาไม่มาก แต่ที่เรารู้เบื้องต้นคือมันอาจติดต่อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา ยังต้องรอข้อมูลเรื่องความรุนแรง แต่ก็มีบางประเทศห้ามต่างชาติข้ามแดนแล้ว ของไทยเราตอนนี้ ศบค. อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงสาธารณสุข และ ททท. ว่าจะปรับมาตรการอย่างไร เพื่อคัดกรองคนเข้าประเทศหรือหาแนวทางป้องกัน” ดนุชากล่าว

เลขาสภาพัฒน์กล่าวว่า นอกจากความเสี่ยงเรื่องโรคระบาดแล้ว ยังมีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอีก 2 ประเด็นที่ไทยต้องเผชิญ คือ  

  1. ปัญหาหนี้ครัวเรือน ที่แม้ปัจจุบันตัวเลข NPL ทั้งระบบจะยังอยู่ที่ 3% แต่ก็เริ่มพบสัญญาณเรื่องสินเชื่อบัตรเครดิตที่สูงขึ้น ขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อก็ยังต้องจับตาดูว่าจะเป็นภาวะชั่วคราวหรือยืดยาว 
  1. ความผันผวนจากนโยบายของประเทศขนาดใหญ่จากความขัดแย้งเรื่องภูมิรัฐศาสตร์

ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ก่อนหน้าที่จะมีการค้นพบเชื้อโควิดสายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ โดยส่วนตัวได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีโอกาสเติบโตได้ถึง 5% จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาราว 10 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขที่ ธปท. ได้ประเมินไว้ที่ 3.9% ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6 ล้านคน 

“โอไมครอนทำให้ต้องประเมินสถานการณ์ใหม่ เพราะเป็นไปได้ที่นักท่องเที่ยวในปีหน้าอาจจะต่ำกว่า 6 ล้านคน ช่วงปลายเดือนนี้ ธปท. จะทำตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ โดยเอาปัจจัยเรื่องสายพันธุ์ใหม่เข้ามาคำนวณด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีข่าวดีที่อาจทำให้เบาใจได้บ้างว่าการศึกษาแบบจำลองเศรษฐกิจของ ธปท. ภายใต้สมมติฐานว่าเกิดการระบาดลากยาวและภาคท่องเที่ยวต้องซึมยาว 2-3 ปี ยังพบว่าในภาวะดังกล่าวสถาบันการเงินของไทยจะยังทำหน้าที่ได้อย่างมีเสถียรภาพอยู่” ดอนกล่าว 

ทั้งนี้ ดอนเสนอแนะว่า ไทยควรประคับคองเศรษฐกิจในปีหน้าด้วยนโยบาย 3 ไม่สะดุด ได้แก่ 

  1. ไม่สะดุดทางสาธารณสุข คือ เร่งฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง และยังเคร่งคัดเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม 
  1. ไม่สะดุดทางการเงิน คือ ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ อัดฉีดสภาพคล่องผ่านสินเชื่อ และปรับโครงสร้างหนี้ให้กับกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือ 
  1. ไม่สะดุดทางการคลัง คือ เมื่อภาครัฐมีการขยายเพดานหนี้สาธารณะ ซึ่งช่วยให้มีรูมในการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ก็ควรเร่งการลงทุนของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเชื่อว่าหากทำ 3 เรื่องนี้สำเร็จ เศรษฐกิจไทยจะสามารถต่อสู้กับไวรัสโอไมครอนในปีหน้าได้

บัณฑิต นิจถาวร ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล กล่าวว่า แม้จะตัดปัจจัยเรื่องไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนออก ก็จะพบว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าก็ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อ่อนแออยู่ดี เนื่องจากรายได้ของคนในประเทศยังอ่อนแอ และการฟื้นตัวที่มีลักษณะไม่สมดุลเป็น K-Shaped 

“ด้วยโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ถ้าเราไม่ทำอะไร เราจะมีศักยภาพโตได้แค่ 2-3% ต่อปี ขณะที่ประเทศในอาเซียนมีศักยภาพที่จะโตเฉลี่ยได้ 5% ในช่วง 20 ปีหลังวิกฤตต้มยำกุ้งเราแทบไม่มีการลงทุนจากภาคเอกชนเลย ไม่มี New Champion ในประเทศ” บัณฑิตกล่าว

บัณฑิตกล่าวว่า ไทยควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยพลิกเอาภาคธุรกิจขึ้นมาเป็นตัวนำ ไม่ใช่ภาครัฐ โดยภาครัฐควรปรับเปลี่ยนบทบาทจาก Regulator เป็น Facilitator ขณะเดียวกันต้องเร่งพัฒนาทักษะแรงงานและสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมและเป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อสร้างโอกาสและความมั่นใจให้ภาคเอกชนกล้าลงทุนมากขึ้น

แหล่งที่มาของข่าว

https://thestandard.co/covid-affect-long-term-restructuring-of-thai-economy/

You Might Also Like

ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง

รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น

“เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง

ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน

สื่อตีข่าว “คิม จองอึน” เดินทางเยือนรัสเซีย ร่วมถก “ปูติน” สัปดาห์นี้

TAGGED: covid, covid19, Omicron, โควิด, โควิด19, โควิดสายพันธุ์ใหม่, โอไมครอน
admin พฤศจิกายน 30, 2021
Share this Article
Facebook Twitter Email Print
Previous Article หุ้น “ทวิตเตอร์” พุ่ง หลังมีข่าว “แจ็ค ดอร์ซีย์” เตรียมประกาศลาออก
Next Article แพทย์ชั้นนำแอฟริกาใต้เชื่อโอไมครอน (Omicron) อาการไม่รุนแรง

Follow US

Find US on Social Medias
73k Like
62.3k Follow
2.1k Follow
20.3k Subscribe

Weekly Newsletter

Subscribe to our newsletter to get our newest articles instantly!

Popular News
ข่าวสำคัญหุ้นและข่าวต่างประเทศ

นักวิเคราะห์คาดจีนออกมาตรการกระตุ้นศก. เชื่อภาคอสังหาฯได้แรงหนุนมากที่สุด

admin admin มิถุนายน 7, 2023
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (1 พ.ย.)
คอลัมน์ Big Data Analysis: เผยโฉมแหล่งน้ำมันดิบโลก
ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2022
วุฒิสภาสหรัฐมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายคัดค้านทรัมป์
- Advertisement -
Ad imageAd image
Global Coronavirus Cases

Confirmed

0

Death

0

More Information:Covid-19 Statistics

You Might Also Like

ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง

กันยายน 19, 2023

รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น

กันยายน 19, 2023

“เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง

กันยายน 12, 2023

ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน

กันยายน 12, 2023
Previous Next
about us

.

71k Like
62.2k Follow
2.1k Follow
16.1k Subscribe

© forexmonday.com. Design Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?