By using this site, you agree to the Privacy Policy and Terms of Use.
Accept
ForexMonday
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
    ข่าวสำคัญShow More
    ทั่วโลกจับตาถ้อยแถลง “พาวเวล” คืนนี้ 03.00 น. หาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟด
    กันยายน 29, 2023
    🔥กนง. มติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%
    กันยายน 27, 2023
    EURAUD ยังคงมีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 27/09/2023
    กันยายน 27, 2023
    👀”โกลด์แมนแซคส์” ชี้บริษัทบัตรเครดิตมะกันเสี่ยงขาดทุนหนักสุดในรอบ 30 ปี
    กันยายน 27, 2023
    🔥ญี่ปุ่นจ่อแทรกแซงตลาด FX หลังเยนร่วงใกล้แตะระดับ 150 เยน/ดอลล์
    กันยายน 27, 2023
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
    ปฏิทินเศรษฐกิจShow More
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 22, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 3, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 2, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2023
    กรกฎาคม 11, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2023
    มิถุนายน 19, 2023
  • บทวิเคราะห์
    บทวิเคราะห์Show More
    AUDJPY เริ่มมีโอกาสร่วงลงไปยะสั้น 27/09/2023
    กันยายน 27, 2023
    USD กับการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐในช่วงเวลา 19:30 น. วันที่ 13/09/2023
    กันยายน 13, 2023
    US30USD มีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 12/09/2023
    กันยายน 12, 2023
    AUDJPY แกว่งตัวระยะสั้น 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    EURUSD มีโอกาสร่วงลงต่อเนื่อง 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
  • วิดีโอ
    วิดีโอShow More
    รายการประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2023 ติดตามสมาชิก FOMC
    กรกฎาคม 11, 2023
    รายการประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2023 จับทิศทางตลาด
    มิถุนายน 19, 2023
    รายการประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 จับตาสามเหตุการณ์หลัก
    พฤษภาคม 25, 2023
    รายการประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 จับตาประธาน FED คืนนี้
    พฤษภาคม 22, 2023
    รายการประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2023 ติดตามรายงานบ้านมือสองสหรัฐ
    พฤษภาคม 19, 2023
Reading: ดาวโจนส์พุ่งเกือบ 200 จุด ขานรับทรัมป์เจรจาสีจิ้นผิงชื่นมื่น
Dashboard Forexmonday
ForexMondayForexMonday
Aa
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Search
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Follow US
  • Advertise
© 2022 forexmonday News Network. Design Company. All Rights Reserved.
ForexMonday > Blog > ข่าวสำคัญ > หุ้นและข่าวต่างประเทศ > ดาวโจนส์พุ่งเกือบ 200 จุด ขานรับทรัมป์เจรจาสีจิ้นผิงชื่นมื่น

ดาวโจนส์พุ่งเกือบ 200 จุด ขานรับทรัมป์เจรจาสีจิ้นผิงชื่นมื่น

admin
Last updated: 2018/11/01 at 11:16 PM
admin Published พฤศจิกายน 1, 2018
Share
SHARE

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นเกือบ 200 จุดในวันนี้ โดยปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 3 หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เปิดเผยว่า เขาได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งการหารือดังกล่าวเป็นไปด้วยดี

นอกจากนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังดีดตัวขึ้นขานรับการเปิดเผยผลประกอบการที่สดใสของบริษัทดาวดูปองท์ และซิกนา
นักลงทุนจับตาผลประกอบการของบริษัทแอปเปิล อิงค์ ซึ่งจะมีการเปิดเผยหลังจากปิดตลาดวันนี้
ณ เวลา 21.59 น.ตามเวลาไทย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 25,286.31 จุด เพิ่มขึ้น 170.55 จุด หรือ 0.68%
ปธน.ทรัมป์ทวีตข้อความในวันนี้ ระบุว่า “ผมเพิ่งมีการสนทนาที่ใช้เวลานาน และเป็นไปอย่างดีมากกับท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน เราได้คุยกันในหลายประเด็น โดยเน้นหนักทางด้านการค้า ซึ่งการหารือดังกล่าวเป็นไปด้วยดี โดยเรามีกำหนดพบปะกันในการประชุม G20 ที่อาร์เจนตินา และเรายังมีการหารือกันเป็นอย่างดีเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ” ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ปธน.ทรัมป์มีกำหนดพบปะกับปธน.สี จิ้นผิงนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรสของอาร์เจนตินาในเดือนหน้า ขณะที่การประชุม G20 มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค.

ปธน.ทรัมป์กล่าววานนี้ว่า เขาคิดว่าสหรัฐจะสามารถทำข้อตกลงทางการค้าครั้งใหญ่กับจีน แต่เขาก็เตือนว่าสหรัฐพร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีรอบใหม่ต่อสินค้าจีนวงเงิน 2.67 แสนล้านดอลลาร์ หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับจีน

ขณะนี้ สหรัฐได้เรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีนในวงเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่จีนก็ได้ตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐในวงเงิน 1.10 แสนล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ หากสหรัฐเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่ในวงเงิน 2.67 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มเติมจากที่เรียกเก็บภาษีสินค้าวงเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ก่อนหน้านี้ ก็เท่ากับว่าสหรัฐได้เรียกเก็บภาษีต่อสินค้าทั้งหมดทุกรายการที่จีนส่งเข้าไปยังสหรัฐ โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า จีนได้ส่งออกสินค้าวงเงิน 5.05 แสนล้านดอลลาร์เข้าสู่สหรัฐในปีที่แล้ว

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นรวมกว่า 650 จุดในการซื้อขาย 2 วันในวันอังคารและวันพุธ แต่เมื่อพิจารณาทั้งเดือนต.ค. ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลง 5.1% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2559

ตลาดจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันพรุ่งนี้ โดยผลการสำรวจนักวิเคราะห์ระบุว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. โดยจะต่ำกว่าระดับ 201,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และคาดว่าอัตราการว่างงานจะยังคงอยู่ที่ระดับ 3.7% ในเดือนต.ค.

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 214,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 213,000 ราย

ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่า เนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 1,750 ราย สู่ระดับ 213,750 รายในสัปดาห์ที่แล้ว

สำหรับจำนวนชาวอเมริกันที่ยังคงขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 20 ต.ค. มีจำนวนลดลง 7,000 ราย สู่ระดับ 1.63 ล้านราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2516

ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่อง ลดลง 6,250 ราย สู่ระดับ 1.64 ล้านราย
ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2516
ทางด้านสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ร่วงลง 2.1% สู่ระดับ 57.7 ในเดือนต.ค. โดยต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 59.0 หลังจากแตะระดับ 59.8 ในเดือนก.ย.

การปรับตัวลงของดัชนี ISM ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่, การจ้างงาน, การบริโภค, การผลิต และสินค้าคงคลัง
อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ โดยดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 114

ข้อมูลภาคการผลิตของ ISM สวนทางกับไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.7 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน จากระดับ 55.6 ในเดือนก.ย.

การปรับตัวขึ้นของดัชนี PMI ได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่แตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่การจ้างงานแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือนที่ทำไว้ในเดือนก.ย.

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq18/2908465

You Might Also Like

ทั่วโลกจับตาถ้อยแถลง “พาวเวล” คืนนี้ 03.00 น. หาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟด

🔥กนง. มติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%

EURAUD ยังคงมีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 27/09/2023

👀”โกลด์แมนแซคส์” ชี้บริษัทบัตรเครดิตมะกันเสี่ยงขาดทุนหนักสุดในรอบ 30 ปี

🔥ญี่ปุ่นจ่อแทรกแซงตลาด FX หลังเยนร่วงใกล้แตะระดับ 150 เยน/ดอลล์

TAGGED: Downjone, จีน, ดัชนีดาวโจนส์, ดาวโจนส์, สงครามทางการค้า
admin พฤศจิกายน 1, 2018
Share this Article
Facebook Twitter Email Print
Previous Article ปอนด์พุ่งต่อเนื่อง รับข่าวอังกฤษใกล้บรรลุดีล Brexit ขณะ BoE ส่งสัญญาณขึ้นดบ.เร็วกว่าคาด
Next Article วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2018 ถึง 2 พฤศจิกายน 2018

Follow US

Find US on Social Medias
73k Like
62.3k Follow
2.1k Follow
20.3k Subscribe

Weekly Newsletter

Subscribe to our newsletter to get our newest articles instantly!

Popular News
ข่าวสำคัญหุ้นและข่าวต่างประเทศ

“ฟิทช์” ขู่หั่นเครดิตแบงก์สหรัฐ รวมถึง “เจพีมอร์แกน”

admin admin สิงหาคม 16, 2023
ECB ชี้จะเห็นผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อเงินเฟ้อชัดเจนในปี 67
เยอรมนีเผยความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนเม.ย.ลดลง
FDA ไฟเขียวฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3 ให้เด็กอายุ 12-15 ปี
ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 28 มกราคม 2022
- Advertisement -
Ad imageAd image
Global Coronavirus Cases

Confirmed

0

Death

0

More Information:Covid-19 Statistics

You Might Also Like

ทั่วโลกจับตาถ้อยแถลง “พาวเวล” คืนนี้ 03.00 น. หาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟด

กันยายน 29, 2023

🔥กนง. มติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%

กันยายน 27, 2023

EURAUD ยังคงมีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 27/09/2023

กันยายน 27, 2023

👀”โกลด์แมนแซคส์” ชี้บริษัทบัตรเครดิตมะกันเสี่ยงขาดทุนหนักสุดในรอบ 30 ปี

กันยายน 27, 2023
Previous Next
about us

.

71k Like
62.2k Follow
2.1k Follow
16.1k Subscribe

© forexmonday.com. Design Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?