By using this site, you agree to the Privacy Policy and Terms of Use.
Accept
ForexMonday
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
    ข่าวสำคัญShow More
    ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง
    กันยายน 19, 2023
    รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น
    กันยายน 19, 2023
    “เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง
    กันยายน 12, 2023
    ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน
    กันยายน 12, 2023
    สื่อตีข่าว “คิม จองอึน” เดินทางเยือนรัสเซีย ร่วมถก “ปูติน” สัปดาห์นี้
    กันยายน 11, 2023
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
    ปฏิทินเศรษฐกิจShow More
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 22, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 3, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 2, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2023
    กรกฎาคม 11, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2023
    มิถุนายน 19, 2023
  • บทวิเคราะห์
    บทวิเคราะห์Show More
    USD กับการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐในช่วงเวลา 19:30 น. วันที่ 13/09/2023
    กันยายน 13, 2023
    US30USD มีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 12/09/2023
    กันยายน 12, 2023
    AUDJPY แกว่งตัวระยะสั้น 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    EURUSD มีโอกาสร่วงลงต่อเนื่อง 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    GBPJPY ร่วงลงต่อเนื่อง 1/09/2023
    กันยายน 1, 2023
  • วิดีโอ
    วิดีโอShow More
    รายการประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2023 ติดตามสมาชิก FOMC
    กรกฎาคม 11, 2023
    รายการประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2023 จับทิศทางตลาด
    มิถุนายน 19, 2023
    รายการประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 จับตาสามเหตุการณ์หลัก
    พฤษภาคม 25, 2023
    รายการประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 จับตาประธาน FED คืนนี้
    พฤษภาคม 22, 2023
    รายการประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2023 ติดตามรายงานบ้านมือสองสหรัฐ
    พฤษภาคม 19, 2023
Reading: ไทยตั้งการ์ดรับมือ เศรษฐกิจป่วนหลังการเลือกตั้งสหรัฐ
Dashboard Forexmonday
ForexMondayForexMonday
Aa
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Search
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Follow US
  • Advertise
© 2022 forexmonday News Network. Design Company. All Rights Reserved.
ForexMonday > Blog > ข่าวสำคัญ > หุ้นและข่าวในประเทศ > ไทยตั้งการ์ดรับมือ เศรษฐกิจป่วนหลังการเลือกตั้งสหรัฐ

ไทยตั้งการ์ดรับมือ เศรษฐกิจป่วนหลังการเลือกตั้งสหรัฐ

admin
Last updated: 2018/11/10 at 6:01 PM
admin Published พฤศจิกายน 10, 2018
Share
SHARE

ไทยตั้งการ์ดรับมือ เศรษฐกิจสหรัฐป่วนหลังเลือกตั้ง : จากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐ ผลปรากฏว่าพรรครีพับลิกันสูญเสียคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรคเดโมแครต ในขณะที่ยังสามารถรักษาคะแนนเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ซึ่งมีนัยต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ในระยะถัดไป โดยเฉพาะการผ่านร่างกฎหมายที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะทำได้ยากขึ้น

ในขณะที่คาดการณ์ว่านโยบายการค้ากับจีนคงยังดำเนินต่อไปได้ภายใต้อำนาจ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐยังคงใช้นโยบายด้านต่างประเทศแบบแข็งกร้าวและเดินบนเส้นทางโดดเดี่ยวยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าโลกให้ต้องเผชิญกับความยากลำบากในปี 2562

นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีนัยต่อการผลักดันกฎหมายที่สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณที่จะต้องเผชิญกับการต่อรองมากขึ้นจากพรรค เดโมแครต รวมถึงความเสี่ยงในเรื่องเพดานหนี้สาธารณะที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 มี.ค. 2562 นี้

ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวจะมีผลต่อความผันผวนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐ ที่อาจจะชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจนมีผลต่อจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ย

นโยบาย รวมถึงท่าทีของสหรัฐ ในการเดินหน้านโยบายกีดกันทางการค้ากับจีน ซึ่งทั้งหมดกระทบกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผลการเลือกตั้งค่อนข้างเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ (วันที่ 8 พ.ย.) ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ S&P 500 ปรับสูงขึ้น 2.12% และตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกในภาพรวมตอบสนองในเชิงบวกจากการที่นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง ขณะที่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ ปิดตลาดอ่อนค่าเล็กน้อย 0.12% สำหรับเงินบาทต่อดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวแข็งค่าเล็กน้อยมาอยู่ที่ราว 32.88 บาท/ดอลลาร์

พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐเป็นไปตามตลาดคาดโดยพรรครีพับลิกันได้เสียงข้างมากในวุฒิสภา ส่วนพรรคเดโมแครตได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรนั้น น่าจะส่งผลบวกต่อตลาดเงินและตลาดทุนในช่วงสั้น เพราะเดิมตลาดกังวลว่าพรรค รีพับลิกันจะครองเสียงข้างมากทั้งสองสภาทำให้ประธานาธิบดีทรัมป์มีอำนาจมากขึ้นและออกมาตรการไปกดดันประเทศอื่นเพิ่ม จากที่ดำเนินการขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนแล้ว 2 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้น เมื่อพรรครีพับลิกันไม่ชนะในสภาล่างการที่ทรัมป์จะเพิ่มมาตรการด้านภาษีก็จะยากขึ้น แต่ที่ทำไปแล้วยังดำเนินต่อ

“ผลการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะทำให้กระแสเงินทุนต่างประเทศ (Fund Flow) ที่เคยลดการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (อิมเมอร์จิ้น มาร์เก็ต) ออกไปก่อนหน้านี้ เพราะมองว่าพรรครีพับลิกันจะได้เสียงข้างมากจากทั้งสองสภาอาจกลับเข้ามาถือลงทุนหุ้นตามน้ำหนักเดิมที่เคยขายออกไป แต่ In Flow ส่วนนี้คงไม่มากนัก เป็นการตอบรับเชิงบวกในช่วงสั้นของตลาด ซึ่งหากมี Flow เข้ามาในอิมเมอร์จิ้นมาร์เก็ต ไทยก็น่าจะดีไปด้วย”

อย่างไรก็ดี ในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้าจากนี้ ภาพพื้นฐานเศรษฐกิจไทยไม่ได้เปลี่ยน มองว่าการดำเนินนโยบายการกีดกันทางการค้าของสหรัฐยังน่าจะดำเนินต่อไป เฟดยังเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ธ.ค.ปีนี้ต่อ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐยังดี เงินเฟ้อก็เป็นไปตามเป้าหมาย สะท้อนจากผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ก็ยังอยู่ในระดับสูงประมาณ 3.2% สะท้อนว่าภาพเศรษฐกิจที่ยังดี

เพียงแต่เงินดอลลาร์อาจชะลอการแข็งค่าลงมาบ้าง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของสหรัฐ อาทิ การลดภาษีนิติบุคคล การใช้งบประมาณขาดดุล อาจไม่ได้เป็นไปตามที่ทรัมป์เคยประกาศไว้ ทำให้เงินบาทในระยะสั้นน่าจะกลับมาแข็งค่าขึ้น แต่เป็นภาวะชั่วคราว อย่างไรก็ดีภายในสิ้นปีนี้เรายังมองว่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 32.80-32.90 บาท/ดอลลาร์

ส่วนการประชุมเฟดในรอบนี้ วันที่ 7-8 พ.ย. คาดว่าจะยังไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย น่าจะปรับขึ้นอีกครั้งในปลายปีนี้ ตามทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังฟื้นตัวดี

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐครั้งนี้ ยังคงทำให้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐเดินหน้าต่อไป โดยจะมีผลต่อความผันผวนค่าเงินดอลลาร์ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐที่อาจจะชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจนมีผลต่อจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงท่าทีของสหรัฐในการเดินหน้านโยบายกีดกันทางการค้ากับจีน ซึ่งทั้งหมดกระทบกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2562 นับว่าเป็นปีแห่งความยากลำบากที่นานาชาติรวมทั้งไทยต้อง

เผชิญผลกระทบ 2 ฝั่ง ประกอบด้วย
1) ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ส่งผ่านมายังห่วงโซ่การผลิตของไทย และ
2) ผลกระทบจากการอ่อนแรงของเศรษฐกิจและกำลังซื้อของตลาดทั่วโลก โดยรวม แล้วทำให้การส่งออกไทยในปี 2562 สูญเสียประโยชน์สุทธิ 3,100-4,500 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.6-0.9% ของจีดีพี

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านโยบายเศรษฐกิจภายใต้การนำของทรัมป์ ในช่วง 2 ปีหลังจากนี้จะยังเดินตามแนวทางต่างตอบแทนและได้ประโยชน์ร่วมกันบนจุดยืนเดิมที่แข็งกร้าว และจะไม่มีนโยบายกดดันการค้ารูปแบบอื่นเพิ่มเติมออกมา โดยในที่สุดปี 2563 น่าจะเป็นปีที่สงครามการค้าเริ่มคลี่คลาย ตลอดจนการค้าระหว่างประเทศของไทยกับต่างประเทศมีทิศทางดีขึ้นเป็นลำดับศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) ระบุว่า ผลการเลือกตั้งกลางเทอมไม่ได้ส่งผลต่อนโยบายการค้าของสหรัฐโดยตรง เนื่องจากนโยบายการค้าเป็นอำนาจพิเศษของประธานาธิบดี ดังนั้นมองว่าสหรัฐยังคงนโยบายกีดกันการค้า โดยเฉพาะการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนยังคงมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออกต่อเนื่องในปี 2562

ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้ากับจีนโดยเฉพาะในหลายหมวดสินค้า เช่น พลาสติก ยางพารา แผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ฯลฯ และหากเศรษฐกิจจีนเริ่มมีการชะลอตัวจะทำให้การส่งออกไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการชะลอของเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า หากการเจรจาระหว่างสหรัฐและจีนไร้ข้อสรุป มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะดำเนินการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเติมและการตอบโต้จากจีนจะยังคงมีอยู่

ธุรกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐและจีนจำเป็นต้องติดตามทิศทางนโยบายการค้าของสหรัฐ ในระยะข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาจมีการประชุม จี20 นอกรอบระหว่างประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ที่อาร์เจนตินา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย. โดยกำหนดการเจรจาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มีมุมมองว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนยังยังเดินหน้าต่อได้ แต่คงไม่น่าขยายวงกว้าง และน่าจะหาทางตกลงกับจีนได้ แต่นโยบายลดภาษีคงเกิดได้ยาก ไม่น่าผ่านสภาล่าง ซึ่งพรรคเดโมแครตคงอยากเห็นการลดงบขาดดุล หนี้ไม่โตเร็ว

ในอีก 2 ปีข้างหน้าก่อนเลือกตั้งใหม่ ทรัมป์คงทำอะไรไม่ได้มากเท่าช่วงก่อนหน้า แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะย่ำแย่ เพราะมีสภาสูงคอยสนับสนุน แต่การผ่านกฎหมายงบประมาณให้กระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่านี้คงยาก แต่ยังอาจกดดันด้านต่างประเทศผ่านการขึ้นภาษีนำเข้า และต้องระวังความเสี่ยงด้านปิดหน่วยงานราชการชั่วคราว Government Shutdown หรือ Debt Ceiling

อมรเทพ มองว่า ด้านเศรษฐกิจ เมื่อนโยบายในอนาคตไม่น่าแรง เงินเฟ้อไม่น่าจะสูง ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า หรืออย่างน้อยก็ยืนการขึ้นอีก 3 ครั้งปีหน้า ตลาดสหรัฐอาจไม่น่าสนใจ นักลงทุนอาจหันมามองตลาดเกิดใหม่ที่มีพื้นฐานดี ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงอย่างไทย และเป็นไปได้ที่ค่าเงินบาทอาจพลิกกลับมาแข็งได้เล็กน้อย

ในขณะเดียวกัน ไทยต้องรับมือกับความผันผวนของค่าเงิน กระแสเงินทุนที่เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว และไม่ว่าจะเกิดอะไรไทยต้องแกร่งที่จะรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจ เมื่อยักษ์ใหญ่สหรัฐกับจีนขยับ ไทยก็ต้องการตั้งการ์ดสูงไว้เพื่อรับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดย ชีวรัตน์ กิจนภาธนพงศ์

ที่มา Source: Posttoday

You Might Also Like

ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง

รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น

“เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง

ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน

สื่อตีข่าว “คิม จองอึน” เดินทางเยือนรัสเซีย ร่วมถก “ปูติน” สัปดาห์นี้

TAGGED: Thai, thailand, ประกาศไทย, ผลกระทบเศรษฐกิจ, สหรัฐ, เศรษฐกิจสหรัฐ
admin พฤศจิกายน 10, 2018
Share this Article
Facebook Twitter Email Print
Previous Article IMF หั่นตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจยุโรปปีนี้,ปีหน้า เหตุถูกกระทบจากสงครามการค้า
Next Article ‘ไอเอ็มเอฟ’เตือนศก.อิตาลีเสี่ยง

Follow US

Find US on Social Medias
73k Like
62.3k Follow
2.1k Follow
20.3k Subscribe

Weekly Newsletter

Subscribe to our newsletter to get our newest articles instantly!

Popular News
ข่าวสำคัญสกุลเงินดิจิตอล

ชาวแคนาดา หันซบ BTC หลังถูกปธน. ขู่ระงับบัญชีธนาคาร

admin admin กุมภาพันธ์ 23, 2022
ฝรั่งเศสเผยเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ลดลงมากกว่าที่คาด
EUR/CHF : รอลุ้นต่อไปสามสถานี
ประธานเฟดดัลลัสแนะเฟดระงับขึ้นดอกเบี้ยจนถึงกลางปีนี้
BTC ยังพอลุ้นมีโอกาสขยับตัวสูงขึ้น
- Advertisement -
Ad imageAd image
Global Coronavirus Cases

Confirmed

0

Death

0

More Information:Covid-19 Statistics

You Might Also Like

ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง

กันยายน 19, 2023

รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น

กันยายน 19, 2023

“เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง

กันยายน 12, 2023

ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน

กันยายน 12, 2023
Previous Next
about us

.

71k Like
62.2k Follow
2.1k Follow
16.1k Subscribe

© forexmonday.com. Design Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?