By using this site, you agree to the Privacy Policy and Terms of Use.
Accept
ForexMonday
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
    ข่าวสำคัญShow More
    ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง
    กันยายน 19, 2023
    รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น
    กันยายน 19, 2023
    “เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง
    กันยายน 12, 2023
    ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน
    กันยายน 12, 2023
    สื่อตีข่าว “คิม จองอึน” เดินทางเยือนรัสเซีย ร่วมถก “ปูติน” สัปดาห์นี้
    กันยายน 11, 2023
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
    ปฏิทินเศรษฐกิจShow More
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 22, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 3, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 2, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2023
    กรกฎาคม 11, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2023
    มิถุนายน 19, 2023
  • บทวิเคราะห์
    บทวิเคราะห์Show More
    USD กับการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐในช่วงเวลา 19:30 น. วันที่ 13/09/2023
    กันยายน 13, 2023
    US30USD มีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 12/09/2023
    กันยายน 12, 2023
    AUDJPY แกว่งตัวระยะสั้น 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    EURUSD มีโอกาสร่วงลงต่อเนื่อง 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    GBPJPY ร่วงลงต่อเนื่อง 1/09/2023
    กันยายน 1, 2023
  • วิดีโอ
    วิดีโอShow More
    รายการประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2023 ติดตามสมาชิก FOMC
    กรกฎาคม 11, 2023
    รายการประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2023 จับทิศทางตลาด
    มิถุนายน 19, 2023
    รายการประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 จับตาสามเหตุการณ์หลัก
    พฤษภาคม 25, 2023
    รายการประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 จับตาประธาน FED คืนนี้
    พฤษภาคม 22, 2023
    รายการประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2023 ติดตามรายงานบ้านมือสองสหรัฐ
    พฤษภาคม 19, 2023
Reading: หลายชาติส่อตาม ‘ทรัมป์’ ชูมาตรการภาษีหนุนเติบโต
Dashboard Forexmonday
ForexMondayForexMonday
Aa
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Search
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Follow US
  • Advertise
© 2022 forexmonday News Network. Design Company. All Rights Reserved.
ForexMonday > Blog > ข่าวสำคัญ > หุ้นและข่าวต่างประเทศ > หลายชาติส่อตาม ‘ทรัมป์’ ชูมาตรการภาษีหนุนเติบโต

หลายชาติส่อตาม ‘ทรัมป์’ ชูมาตรการภาษีหนุนเติบโต

admin
Last updated: 2018/11/26 at 4:02 PM
admin Published พฤศจิกายน 26, 2018
Share
SHARE

ในขณะที่การเติบโตนอกสหรัฐเริ่มสะดุด นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกจะ เดินตามเกมเศรษฐกิจของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ผู้นำสหรัฐ โดยใช้มาตรการภาษีและ ทุ่มงบประมาณเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของตน

“ชโรเดอร์ส” บริษัทบริหารสินทรัพย์ชื่อดังของสหราชอาณาจักร เผยแพร่รายงาน เรื่อง “ประเทศอื่นๆ ควรเดินตามเกมเศรษฐกิจของทรัมป์หรือไม่” เมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ว่าการเติบโตทั่วโลกในปี 2560 มีคุณลักษณะเฉพาะจากการขยายตัวในเวลาเดียวกันของบรรดาเศรษฐกิจสำคัญของโลก ส่วนใหญ่เป็นผลจาก การเติบโตของการค้าโลกที่คึกคักซึ่งช่วยให้ทุกเศรษฐกิจได้อานิสงส์กันถ้วนหน้า


อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การค้าโลกซบเซาลงในปีนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกกลับเกื้อหนุนกันน้อยลง แม้จีน ยุโรป และญี่ปุ่น ต่างมีอัตราการเติบโตชะลอตัวลง แต่เศรษฐกิจสหรัฐยังคงเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง

คีธ เวด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และนักกลยุทธ์ของชโรเดอร์ส กล่าวว่า หนึ่งใน ความแตกต่างสำคัญระหว่างสหรัฐกับเศรษฐกิจอื่นๆ ที่กล่าวถึง คือความสามารถของสหรัฐในการรักษาการเติบโตภายในประเทศให้แข็งแกร่งในช่วงที่ความต้องการจากนอกประเทศชะลอตัวลง

“จีน ยุโรป และญี่ปุ่นต่างได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการค้าโลกที่เกิดขึ้นในปี 2560 แต่หลังจากนั้นมาสถานการณ์กลับพลิกผัน ประเทศเหล่านี้สูญเสียตัวกระตุ้นการเติบโตสำคัญ และไม่สามารถชดเชยจุดนี้ ด้วยการเติบโตภายในประเทศได้”

ในสหรัฐ นโยบายภาษีและการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้น การเติบโต ช่วยสนับสนุนความต้องการภายในประเทศที่คึกคัก ด้วยการยกระดับการบริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐ ชโรเดอร์สมองว่าอาจเป็นเพราะนโยบายการคลังของประธานาธิบดีทรัมป์มาถูก จังหวะเวลา ซึ่งทำให้สหรัฐเปลี่ยนตัว กระตุ้นการเติบโตได้ทันในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มถดถอย แนวโน้มสำหรับการค้าโลกเริ่มมีความท้าทาย เนื่องจากตัวชี้วัดสถานการณ์ในอนาคต เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ทั่วโลกของยอดคำสั่งส่งออก ต่างบ่งชี้ว่าจะมีการชะลอตัวลงใน ช่วงหลายเดือนข้างหน้า ยอดคำสั่งส่งออกใหม่ถือเป็นตัวชี้วัดของกิจกรรมการค้าในอนาคต จึงดูเหมือนว่าไม่มีแนวโน้มที่การฟื้นตัวของการค้าโลกจะช่วยให้การเติบโตทั่วโลกกลับมาเกื้อหนุนกันอีกครั้ง

ชโรเดอร์ส ระบุว่า สิ่งที่อาจเป็นเครื่องพิสูจน์ที่เห็นผลมากกว่าในขณะนี้คือ หากรัฐบาลประเทศต่างๆ เดินตามรอยทรัมป์ เกี่ยวกับการออกนโยบายการคลัง (ภาษีและใช้จ่าย) ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายเริ่มเห็นบ้างแล้วในปัจจุบัน

เมื่อไม่นานนี้ จีนได้ประกาศปรับลดภาษีและอยู่ระหว่างหารือกันว่าจะลดภาษีอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ภาษียอดขายรถ ภาษีมูลค่า เพิ่ม (แวต) และภาษีนิติบุคคล ส่วนในยุโรป เยอรมนีเตรียมจะขยายนโยบายการคลังให้ครอบคลุมขึ้นในปีหน้า ขณะที่อิตาลีได้ประกาศนโยบายการคลังที่พุ่งเป้าเพิ่มการเติบโต และสหราชอาณาจักรก็เริ่มผ่อนคลายงบประมาณของตนเช่นกัน

Image may contain: 1 person, suit

ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นประกาศงบประมาณเสริมและมีการหารือเกี่ยวกับวิธีชดเชย ผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีผู้บริโภคในปี 2562 เช่น การเพิ่มงบประมาณเกี่ยวกับ อนุบาลศึกษาและมาตรการอื่นๆ

ชโรเดอร์ส คาดว่า ในอนาคตอาจได้เห็น รัฐบาลจำนวนมากขึ้นเข้าแทรกแซง เพื่อสนับสนุนการเติบโตด้วยมาตรการภาษีและการใช้จ่าย โดยเฉพาะใน ช่วงที่บรรดาธนาคารกลางหันมาให้ความสำคัญกับการปรับนโยบายทางการเงินสู่ภาวะปกติ

“สำหรับบรรดานักลงทุน สิ่งนี้จะถือเป็น การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากการสนับสนุนแบบเดิมโดยธนาคารกลาง มาเป็นการสนับสนุน ที่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า และอาศัยความซับซ้อนทางการเมืองมากขึ้น”

นอกจากนั้น ข้อมูลล่าสุดยังชี้ว่าสงครามการค้าระหว่างรัฐบาลวอชิงตันกับปักกิ่ง กำลังส่งผลกระทบต่อบรรดาเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำให้แนวโน้มสำหรับธุรกิจในภูมิภาคไม่แน่นอน

การเติบโตในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่างชะลอตัวลงเมื่อเทียบเป็นรายปี ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ที่ผ่านมา หลังสหรัฐและจีนเริ่มเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าระหว่างกัน

ข้อมูลจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า อัตราการเติบโตของ 5 เศรษฐกิจ ขนาดใหญ่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 4.5% ลดลงจาก 5.5% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ข้อมูลเมื่อวันพฤหัสบดี (22 พ.ย.) ชี้ว่า สิงคโปร์เติบโต 2.2% ในไตรมาสก่อนหน้า ลดลงจาก 4.1% ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. หลักๆ เป็นผลมาจากภาวะชะลอตัวในภาคการผลิต คาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะเติบโต 1.5-3.5% ในปีหน้า ชะลอตัวกว่าตัวเลขคาดการณ์การเติบโตในปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 3.0-3.5%

“มีความเสี่ยงว่าความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับบรรดาประเทศคู่ค้าสำคัญ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะทวีความรุนแรงขึ้นอีก ซึ่งอาจยิ่งฉุดความเชื่อมั่นของธุรกิจและ ผู้บริโภคทั่วโลกอย่างหนัก” กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ระบุ ขณะที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน โดยอัตราการเติบโตรายปีลดลง มาอยู่ที่ 3.3% ในไตรมาส 3 ของปีนี้ จาก 4.6% ในไตรมาส 2

การส่งออกซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทย ลดลง 0.1% ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ซึ่งถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับที่ เพิ่มขึ้น 6.8% ในไตรมาสก่อนหน้า หลักๆ เป็นผลมาจากการลดลงของการส่งออกไปจีน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกรายใหญ่ ของประเทศ

“สงครามการค้าที่ยืดเยื้อเริ่มสร้างความเสียหายต่อการส่งออกของเราในไตรมาส 3 ของปีนี้” รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท เอสซีจี ยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมของไทยเผยกับเว็บไซต์นิคเกอิ เอเชียน รีวิว และว่า “ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับนโยบายการนำเข้าของประเทศคู่ค้าของเรา และทำให้การส่งออกของเราลดลง” สถานการณ์ดังกล่าวยังไม่มีแนวโน้ม ที่จะดีขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า บรรดานักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทแคปิตัล อีโคโนมิกส์ ระบุว่า ความต้องการจากต่างประเทศสำหรับสินค้าส่งออกของไทยส่อเค้าที่จะซบเซา ลงอีก เนื่องจากการเติบโตในสหรัฐและจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงในหลายไตรมาสข้างหน้า

Source: Posttoday

You Might Also Like

ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง

รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น

“เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง

ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน

สื่อตีข่าว “คิม จองอึน” เดินทางเยือนรัสเซีย ร่วมถก “ปูติน” สัปดาห์นี้

TAGGED: ทรัมป์, ประธานาธบดี, ภาษี, สงครามทางการค้า, สหรัฐ, สหรัฐอเมริกา
admin พฤศจิกายน 26, 2018
Share this Article
Facebook Twitter Email Print
Previous Article สังคมสูงวัย ร้านอาหารญี่ปุ่นเริ่มใช้แรงงานหุ่นยนต์มากขึ้น ยังรวมไปถึงแรงงานต่างชาติด้วย
Next Article ปอนด์ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อผู้นำอียูเห็นด้วยในกระบวนการ Brexit

Follow US

Find US on Social Medias
73k Like
62.3k Follow
2.1k Follow
20.3k Subscribe

Weekly Newsletter

Subscribe to our newsletter to get our newest articles instantly!

Popular News
ข่าวสำคัญสกุลเงินดิจิตอล

ตลาดคริปโทระส่ำ เม็ดเงินไหลออกสูงเป็นประวัติการณ์

admin admin มกราคม 11, 2022
ผู้ว่าแบงก์ชาติ ฉายภาพปี 65 จับตา 4 สะดุด! เตรียมพร้อมรับมือ
อินเดีย-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้จ่อถูกกระทบหนักสุดหากราคาน้ำมันพุ่งแตะ $100
UK ForeignMin Hunt: Brexit อาจจะมีการผ่านสภาได้
ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2022
- Advertisement -
Ad imageAd image
Global Coronavirus Cases

Confirmed

0

Death

0

More Information:Covid-19 Statistics

You Might Also Like

ต่างชาติซื้อพันธบัตรสหรัฐเพิ่มในเดือนก.ค. แต่จีนถือครองลดลง

กันยายน 19, 2023

รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษชี้ภาคธนาคารเสี่ยงเผชิญหนี้เสียสูงขึ้น

กันยายน 19, 2023

“เจพีมอร์แกน” ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามในยูเครน-นโยบายธนาคารกลาง

กันยายน 12, 2023

ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน

กันยายน 12, 2023
Previous Next
about us

.

71k Like
62.2k Follow
2.1k Follow
16.1k Subscribe

© forexmonday.com. Design Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?