By using this site, you agree to the Privacy Policy and Terms of Use.
Accept
ForexMonday
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
    ข่าวสำคัญShow More
    🔎 เจาะลึกคลังทองคำ Fort Knox ของสหรัฐ เล็งปรับมูลค่าดันทองโลกพุ่ง 💰✨
    กุมภาพันธ์ 25, 2025
    🇷🇺 เครมลินยินดีต่อแนวทางใหม่ของสหรัฐฯ หลังทรัมป์วิจารณ์เซเลนสกี 🇺🇸
    กุมภาพันธ์ 24, 2025
    🇺🇸 ทรัมป์-ปูติน อาจพบกัน ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการยุติสงครามยูเครน 🇷🇺 รูบิโอกล่าว
    กุมภาพันธ์ 21, 2025
    🔥 “ทรัมป์” เตรียมประกาศรีดภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม 25% จากทุกประเทศวันนี้! ⚖️💥
    กุมภาพันธ์ 10, 2025
    **🔥 ทองคำทะลุทุกสถิติ! มูลค่าพุ่งแรงในปี 2024 🚀**
    มกราคม 22, 2025
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
    ปฏิทินเศรษฐกิจShow More
    🔥 แนวโน้มตลาดรายสัปดาห์ (6-10 มกราคม): เจาะลึกข้อมูลสำคัญที่จะเปลี่ยนโฉมตลาด! 📊
    มกราคม 5, 2025
    🔥📅 กิจกรรมสำคัญในสัปดาห์นี้:
    มีนาคม 11, 2024
    📅🚀 สัปดาห์สำคัญที่รอคอย: การประชุมสำคัญและข้อมูลทางเศรษฐกิจ 🚀📅
    กุมภาพันธ์ 20, 2024
    📈🚀 สัปดาห์ทองของตลาดหุ้น! จับตา S&P 500 พุ่งแตะ 5,000 ได้หรือไม่? 🎯📊
    กุมภาพันธ์ 5, 2024
    📈💼🎢 สัปดาห์สุดระทึกกับข่าวเศรษฐกิจที่คุณต้องไม่พลาด! 💼📈🎢
    มกราคม 29, 2024
  • บทวิเคราะห์
    บทวิเคราะห์Show More
    เงินเยนญี่ปุ่นแตะจุดต่ำสุดใหม่รายวันเทียบกับดอลลาร์สหรัฐท่ามกลางความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ก่อนการประชุม FOMC
    พฤษภาคม 7, 2025
    การคาดการณ์รายสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐ: ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) … ?
    พฤษภาคม 5, 2025
    การคาดการณ์ค่าเงิน GBP/USD: เงินปอนด์ยังคงอ่อนแอก่อนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ
    พฤษภาคม 1, 2025
    ราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มเชิงลบ ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนเชิงบวกและความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่ฟื้นตัว
    เมษายน 29, 2025
    GBP/USD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนเหนือ 1.3200 ขณะที่ตลาดหลีกเลี่ยง USD ท่ามกลางวิกฤตภาษีนำเข้า
    เมษายน 16, 2025
  • วิดีโอ
    วิดีโอShow More
    รายการประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2023 ติดตามสมาชิก FOMC
    กรกฎาคม 11, 2023
    รายการประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2023 จับทิศทางตลาด
    มิถุนายน 19, 2023
    รายการประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 จับตาสามเหตุการณ์หลัก
    พฤษภาคม 25, 2023
    รายการประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 จับตาประธาน FED คืนนี้
    พฤษภาคม 22, 2023
    รายการประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2023 ติดตามรายงานบ้านมือสองสหรัฐ
    พฤษภาคม 19, 2023
Reading: กนง. จับตาพัฒนาการอัตราเงินเฟ้อ
Dashboard Forexmonday
ForexMondayForexMonday
Aa
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Search
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Follow US
  • Advertise
© 2022 forexmonday News Network. Design Company. All Rights Reserved.
ForexMonday > Blog > บทวิเคราะห์ > บทวิเคราะห์หุ้นและข่าวต่างประเทศ > กนง. จับตาพัฒนาการอัตราเงินเฟ้อ

กนง. จับตาพัฒนาการอัตราเงินเฟ้อ

admin
Last updated: 2021/11/24 at 6:56 PM
admin Published พฤศจิกายน 24, 2021
Share
SHARE

กนง. จับตาพัฒนาการอัตราเงินเฟ้อ จากความเสี่ยงราคาพลังงานโลกสูงนานกว่าคาด

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 กรรมการที่เข้าร่วมประชุม นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นางสาววชิรา อารมย์ดี นายคณิศ แสงสุพรรณ นายรพี สุจริตกุล นายสมชัย จิตสุชน นายสุภัค ศิวะรักษ์

ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงิน

แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอลง โดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (advanced economies: AEs) ขยายตัวชะลอลงหลังจากที่เร่งไปมาก เนื่องจากบางประเทศกลับมายกระดับมาตรการ ควบคุมการระบาดหลังจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นภายใต้นโยบายอยู่ร่วมกับโควิด ขณะที่กลุ่มประเทศ เอเชียฟื้นตัวดีขึ้นหลังการกระจายวัคซีนคืบหน้ามากขึ้นและเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดได้

ทั้งนี้ ในระยะต่อไปเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจากราคาพลังงานโลกที่สูงขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่สูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นตาม โดยคาดว่าราคา พลังงานโลกจะทยอยลดลงหลังอุปสงค์ในฤดูหนาวทั่วโลกสิ้นสุดลง และอุปทานน้ำมันจากกลุ่มโอเปกและ พันธมิตร (OPEC Plus) รวมถึงสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2565นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจาก ข้อจำกัดด้านอุปทานโลก (global supply disruption) ที่อาจยืดเยื้อ เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และ เซมิคอนดักเตอร์

ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนสูงขึ้นจากนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศ AEs ที่ทยอยลดการผ่อนคลาย ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศทยอยลดปริมาณการเข้าซื้อ สินทรัพย์ ขณะที่ธนาคารกลางบางแห่งในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets: EMs) เริ่มลด การผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่เผชิญปัญหาเงินเฟ้อสูง

ทั้งนี้ แม้อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่ราคาสินทรัพย์เสี่ยงของ EMs ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดที่ปรับดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยนักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนทั้งใน ตราสารหนี้และตราสารทุนของ EMs ส่งผลให้ค่าเงินสกุลภูมิภาคปรับแข็งค่าขึ้น        สำหรับค่าเงินบาทเคลื่อนไหว ผันผวนสูงกว่าประเทศในภูมิภาคจากปัจจัยภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการผ่อนคลายมาตรการ ควบคุมการระบาดและแผนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

มองไปข้างหน้า ตลาดการเงินโลกยังมี แนวโน้มผันผวน โดยมีความเสี่ยงที่ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ AEs อาจลดการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เร็วกว่าคาดหากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินแตกต่างกัน (policy divergence) มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศ EMs หลายประเทศยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 และปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับที่คาดไว้ในการประชุมเดือนกันยายน จากการใช้จ่ายในประเทศที่ทยอยปรับดีขึ้นต่อเนื่องหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่ สถานการณ์น้ำท่วมในเดือนตุลาคมกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมไม่มากนัก

 โดยภาครัฐมีมาตรการช่วยเยียวยา เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายบางส่วน ในระยะต่อไป สถานการณ์การระบาดที่ดีขึ้นและแนวโน้มการกระจายวัคซีนได้ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ร้อยละ 70 ณ สิ้นปี จะช่วยให้ความเสี่ยงของเศรษฐกิจปรับลดลงและสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เร็วขึ้น แม้คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทยอยฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เนื่องจากนักท่องเที่ยวเอเชียที่เดินทางระยะใกล้ (short-haul) และเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักยังต้องถูกกักตัว เมื่อกลับจากไทยไปอีกระยะหนึ่ง รวมถึงประเทศจีนยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางออกนอกประเทศ จึงคาดว่าแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังใกล้เคียงประมาณการเดิมที่ 1.5 แสนคน และ 6 ล้านคน ในปี 2564 และปี 2565 ตามลำดับ   สำหรับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะแผ่วลงหลังจากที่ได้ เร่งไปในช่วงก่อนหน้าและตามการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ด้านการส่งออกมี แนวโน้มชะลอลงบ้างตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

ทั้งนี้ ตลาดแรงงานมีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากรายได้ของ ผู้ประกอบอาชีพอิสระและลูกจ้างภาคบริการที่ฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงเริ่มเห็นการเคลื่อนย้าย แรงงานกลับเข้าสู่จังหวัดที่เป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม อาทิ นครราชสีมา ระยอง ฉะเชิงเทรา

 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชั่วคราวตามปัจจัยด้านอุปทาน โดยเฉพาะราคาพลังงานโลกที่คาดว่า จะปรับลดลงในช่วงต้นปีหน้า ทั้งนี้การส่งผ่านต้นทุนจากราคาพลังงานโลกยังมีไม่มาก เนื่องจาก

                         (1) ราคา พลังงานในประเทศมีกลไกกองทุนน้ำมันช่วยอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม ประกอบกับมีมาตรการ ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ทั้งนี้ คาดว่าราคาพลังงานโลกจะปรับลดลงหลังไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เนื่องจาก พ้นช่วงฤดูหนาวทั่วโลกและอุปทานน้ำมันจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตหลักมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น

                         (2) ต้นทุน ผู้ประกอบการที่สูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก และปัญหา global supply disruption คาดว่าจะส่งผ่าน มายังอัตราเงินเฟ้อไม่มาก เนื่องจากกำลังซื้อยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวทำให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นราคาสินค้าได้ยาก และแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไว้เอง โดยสัดส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา global supply disruption มี เพียงร้อยละ 7 ในตะกร้าสินค้าของดัชนีราคาผู้บริโภค

                         (3) อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเกิดจากการปรับขึ้นราคา สินค้าบางรายการ (relative price changes) เช่น ราคาน้ำมัน โดยยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง (broadbased) ซึ่งสะท้อนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ

                ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายแต่มีความเสี่ยงด้านสูงหากราคาพลังงานโลกอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ และข้อจำกัดด้านอุปทานในต่างประเทศมีแนวโน้มยืดเยื้อ

                 สำหรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังคงยึดเหนี่ยว อยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะ 1 ปีข้างหน้า ณ เดือนตุลาคม 2564 ของ ผู้ประกอบการอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนตุลาคมที่ร้อยละ 2.4 สำหรับการคาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อในระยะ 5 – 10 ปีข้างหน้าของผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งยังยึดเหนี่ยวในกรอบ เป้าหมายระยะปานกลางที่ร้อยละ 1 – 3 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเปราะบางและไม่แน่นอน โดยต้องติดตาม

                         (1) พัฒนาการ ของการระบาดหลังการเปิดประเทศ ซึ่งการฟื้นตัวและการจ้างงานในระยะถัดไปจะแตกต่างกันทั้งในมิติของ ธุรกิจและพื้นที่ โดยผลสำรวจผู้ประกอบการในประเทศพบว่าภาคการผลิต ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร จะฟื้นตัว ได้เร็วกว่าภาคโรงแรมและการขนส่งผู้โดยสาร

                         (2) ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ หลังจากมาตรการที่ ออกมาในช่วงก่อนหน้าทยอยสิ้นสุดลง

                         (3) การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังราคาสินค้า โดยหากราคา พลังงานโลกอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ หรือ global supply disruption ยืดเยื้อกว่าคาด หรือต้นทุน การผลิตหลายประเภทเพิ่มขึ้นพร้อมกัน อาจทำให้ผู้ผลิตปรับขึ้นราคาสินค้าได้

ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการฯ อภิปราย

                 1. คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้นชั่วคราวตามราคาพลังงานโลก แต่ยังมีความเสี่ยงที่ราคาพลังงานโลกอาจอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ จึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการ ของอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด กรรมการบางส่วนกังวลว่าราคาพลังงานโลกอาจอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในระยะยาว หากอุปสงค์พลังงานโลกเพิ่มขึ้นมากตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หรืออุปทานพลังงานโลก ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด จากการลงทุนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ไม่เพียงพอหรือกระแสการปรับตัวของ ประเทศต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

                ทั้งนี้ หากราคาพลังงานโลกอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ ประเมินไว้ จะส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานในประเทศ เนื่องจากกองทุนน้ำมันอาจมีข้อจำกัดในการดูแล กลไกราคา โดยหากราคาพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิต เช่น น้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ ค่าไฟฟ้า ปรับสูงขึ้น ราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบต่อเนื่อง และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ของผู้บริโภคและธุรกิจอาจปรับสูงขึ้นได้ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามแนวโน้มราคาพลังงานโลก รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

                2.คณะกรรมการฯ เห็นว่าโจทย์สำคัญของเศรษฐกิจ คือ การดูแลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่สะดุดลง เนื่องจากเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงจากหลายปัจจัย เช่น

                         (1) การระบาดระลอกใหม่ที่อาจ กลับมาหลังการเปิดประเทศ โดยเฉพาะความต้องการแรงงานต่างด้าวที่เพิ่มขึ้นอาจดึงดูดให้แรงงานต่าง ด้าวเข้ามาอย่างไม่ถูกกฎหมาย

                         (2) ความต่อเนื่องของมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ

                         (3) การส่งผ่าน ต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาพลังงานโลก หากราคาก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งจะบั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมการจะติดตามและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ต่อ เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด

                3. คณะกรรมการฯ ประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจะมีความแตกต่างกันในแต่ละ ภาคเศรษฐกิจ (uneven recovery) ส่งผลให้ตลาดแรงงานที่แม้จะเริ่มปรับดีขึ้นบ้างยังคงมีความเปราะบาง สะท้อนจากจำนวนผู้ขอรับสิทธิว่างงานใหม่ในระบบประกันสังคมที่ยังอยู่ในระดับสูง และประมาณการ จำนวนผู้เสมือนว่างงานและผู้ว่างงานรวมกัน ณ สิ้นปี 2564 ที่คาดว่าจะมีถึง 3.4 ล้านคน ดังนั้น มาตรการ ช่วยเหลือบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจและตลาดแรงงานควรตรงจุดมากขึ้น และเน้นการปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวหลังการ ระบาดสิ้นสุดลง (scarring effects)

                4. คณะกรรมการฯ เห็นว่า ที่ผ่านมามาตรการการคลังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจทั้ง การเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจ แม้แรงส่งจะลดลงบ้างหลังมาตรการการคลังทยอยสิ้นสุดลง แต่แรงส่ง ภาคการคลังยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็นร้อยละ 70 ต่อ GDP ทำให้ภาครัฐ สามารถออกมาตรการเพิ่มเติมได้ในกรณีจำเป็น

                 ในระยะต่อไป มาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจอย่างตรงจุด และพิจารณาปรับสมดุลระหว่างการเยียวยาและฟื้นฟูโดยเน้นมาตรการฟื้นฟู และสร้างรายได้รวมถึงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว

                5. คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายต่อเนื่อง โดย สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง และต้นทุนการกู้ยืมอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ มาตรการด้าน การเงินและสินเชื่อมีความคืบหน้าต่อเนื่อง แต่ความเสี่ยงด้านเครดิตยังเป็นอุปสรรคต่อการกระจายตัว ของสินเชื่อ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SMEs และภาคครัวเรือน ซึ่งมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูสามารถช่วย บรรเทาปัญหาได้บางส่วน

                นอกจากนี้คณะกรรมการฯ เห็นว่าควรผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุง โครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน ตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 กันยายน 2564 ให้เห็นผลในวงกว้างและ สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว

                6. คณะกรรมการฯ เห็นว่าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้นจากช่วงก่อนหน้าตามปัจจัยภายใน ประเทศ ได้แก่ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดประเทศที่เร็วกว่าคาด

ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้าควรติดตามความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะทิศทางการดำเนินนโยบาย การเงินที่แตกต่างกัน (policy divergence) ซึ่งอาจกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย อัตราแลกเปลี่ยน และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย

คณะกรรมการฯ เห็นว่าความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผล กระทบต่อผู้ประกอบการในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการไทยป้องกันความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยน (hedging) เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยสัดส่วน hedging ของผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นจาก ต้นปีที่ร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 35 ณ ตุลาคม 2564 แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่

นอกจากนี้ ยังพบว่าต้นทุน hedging โดยรวมปรับลดลง แต่ผู้ประกอบการรายเล็กมีต้นทุนนี้สูงกว่ารายใหญ่ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด และสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยน

การดำเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี เพื่อสนับสนุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 โดยเศรษฐกิจไทยปี2564 และปี2565 จะขยายตัวใกล้เคียงกับที่คาดไว้ในการประชุมครั้งก่อน จากการใช้จ่ายในประเทศที่ทยอยปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งช่วยชดเชยผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากราคาพลังงานโลกที่สูงขึ้น รวมถึงการเร่งกระจายวัคซีนที่ส่งผลให้ความเสี่ยงด้านต่ำลดลง แต่แนวโน้มการฟื้นตัวยังเปราะบางและมี ความไม่แน่นอน

 โดยในระยะต่อไปแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐจะแผ่วลงหลังจากที่ได้เร่งไปในช่วง ก่อนหน้า ส่วนการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลงบ้างตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า คณะกรรมการฯ เห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมจึงเห็นควรให้ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ประกอบกับการดำเนินมาตรการด้านการเงินการคลังที่มีความต่อเนื่องเน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้รายได้ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง

คณะกรรมการฯ เห็นว่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้นจากช่วงก่อนหน้า จาก การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังมี ความไม่แน่นอน จึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด          นอกจากนี้ เห็นควรให้ผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน มากขึ้น

คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ โดยมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องยังมี ความสำคัญ โดยเฉพาะหลังการเปิดประเทศ มาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเน้น การสร้างรายได้และเร่งเตรียมมาตรการเพื่อฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายการเงิน ช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายต่อเนื่อง

สำหรับมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและลดภาระหนี้ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่ง ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้ เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับ การสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามปัจจัยสำคัญที่ส่งผล กระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ได้แก่ พัฒนาการของการระบาดหลังการเปิดประเทศ ความเพียงพอของมาตรการ การคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ และการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาพลังงานโลก โดยพร้อมใช้ เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

ขอบคุณบทความจาก การเงินการธนาคาร

https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/bot-economic-thai-241164

You Might Also Like

เงินเยนญี่ปุ่นแตะจุดต่ำสุดใหม่รายวันเทียบกับดอลลาร์สหรัฐท่ามกลางความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ก่อนการประชุม FOMC

การคาดการณ์รายสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐ: ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) … ?

การคาดการณ์ค่าเงิน GBP/USD: เงินปอนด์ยังคงอ่อนแอก่อนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มเชิงลบ ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนเชิงบวกและความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่ฟื้นตัว

GBP/USD พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนเหนือ 1.3200 ขณะที่ตลาดหลีกเลี่ยง USD ท่ามกลางวิกฤตภาษีนำเข้า

TAGGED: บทวิเคราะห์, วิเคราะห์, เงินเฟ้อ, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจโลก
admin พฤศจิกายน 24, 2021
Share this Article
Facebook Twitter Email Print
Previous Article เงินเฟ้อ : ตัวการป่วนเศรษฐกิจโลก
Next Article พาวเวลย้ำพันธสัญญาผลักดันเฟด
Track all markets on TradingView

Follow US

Find US on Social Medias
87k Like
64.1k Follow
2.3k Follow
31k Subscribe

Weekly Newsletter

Subscribe to our newsletter to get our newest articles instantly!

Popular News
ข่าวสำคัญหุ้นและข่าวต่างประเทศ

ดาวโจนส์พักฐาน หลังดีดตัววันศุกร์ขานรับตัวเลขจ้างงานแกร่ง

admin admin กุมภาพันธ์ 4, 2019
IMF เรียกร้องเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ
🎉📉 เศรษฐกิจออสเตรเลียทำเซอร์ไพรส์! เงินเฟ้อชะลอตัวไม่ตามคาดในไตรมาสแรก 📊🇦🇺
USDINDEX ยังดูเหมือนจะอ่อนค่าลงเล็กน้อย
ออสซี่จ้างงานลดลงเกินคาดในเดือนเม.ย. ส่งสัญญาณตลาดแรงงานชะลอตัว
- Advertisement -
Ad imageAd image
Global Coronavirus Cases

Confirmed

0

Death

0

More Information:Covid-19 Statistics

You Might Also Like

เงินเยนญี่ปุ่นแตะจุดต่ำสุดใหม่รายวันเทียบกับดอลลาร์สหรัฐท่ามกลางความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ก่อนการประชุม FOMC

พฤษภาคม 7, 2025

การคาดการณ์รายสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐ: ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) … ?

พฤษภาคม 5, 2025

การคาดการณ์ค่าเงิน GBP/USD: เงินปอนด์ยังคงอ่อนแอก่อนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ

พฤษภาคม 1, 2025

ราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มเชิงลบ ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนเชิงบวกและความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่ฟื้นตัว

เมษายน 29, 2025
Previous Next
about us

.

71k Like
62.2k Follow
2.1k Follow
16.1k Subscribe

© forexmonday.com. Design Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?