By using this site, you agree to the Privacy Policy and Terms of Use.
Accept
ForexMonday
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
    ข่าวสำคัญShow More
    🔎 เจาะลึกคลังทองคำ Fort Knox ของสหรัฐ เล็งปรับมูลค่าดันทองโลกพุ่ง 💰✨
    กุมภาพันธ์ 25, 2025
    🇷🇺 เครมลินยินดีต่อแนวทางใหม่ของสหรัฐฯ หลังทรัมป์วิจารณ์เซเลนสกี 🇺🇸
    กุมภาพันธ์ 24, 2025
    🇺🇸 ทรัมป์-ปูติน อาจพบกัน ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการยุติสงครามยูเครน 🇷🇺 รูบิโอกล่าว
    กุมภาพันธ์ 21, 2025
    🔥 “ทรัมป์” เตรียมประกาศรีดภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม 25% จากทุกประเทศวันนี้! ⚖️💥
    กุมภาพันธ์ 10, 2025
    **🔥 ทองคำทะลุทุกสถิติ! มูลค่าพุ่งแรงในปี 2024 🚀**
    มกราคม 22, 2025
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
    ปฏิทินเศรษฐกิจShow More
    🔥 แนวโน้มตลาดรายสัปดาห์ (6-10 มกราคม): เจาะลึกข้อมูลสำคัญที่จะเปลี่ยนโฉมตลาด! 📊
    มกราคม 5, 2025
    🔥📅 กิจกรรมสำคัญในสัปดาห์นี้:
    มีนาคม 11, 2024
    📅🚀 สัปดาห์สำคัญที่รอคอย: การประชุมสำคัญและข้อมูลทางเศรษฐกิจ 🚀📅
    กุมภาพันธ์ 20, 2024
    📈🚀 สัปดาห์ทองของตลาดหุ้น! จับตา S&P 500 พุ่งแตะ 5,000 ได้หรือไม่? 🎯📊
    กุมภาพันธ์ 5, 2024
    📈💼🎢 สัปดาห์สุดระทึกกับข่าวเศรษฐกิจที่คุณต้องไม่พลาด! 💼📈🎢
    มกราคม 29, 2024
  • บทวิเคราะห์
    บทวิเคราะห์Show More
    ราคาทองคำยืนเหนือกำไรในวันท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัว
    พฤษภาคม 9, 2025
    เงินเยนญี่ปุ่นแตะจุดต่ำสุดใหม่รายวันเทียบกับดอลลาร์สหรัฐท่ามกลางความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ก่อนการประชุม FOMC
    พฤษภาคม 7, 2025
    การคาดการณ์รายสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐ: ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) … ?
    พฤษภาคม 5, 2025
    การคาดการณ์ค่าเงิน GBP/USD: เงินปอนด์ยังคงอ่อนแอก่อนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ
    พฤษภาคม 1, 2025
    ราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มเชิงลบ ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนเชิงบวกและความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่ฟื้นตัว
    เมษายน 29, 2025
  • วิดีโอ
    วิดีโอShow More
    รายการประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2023 ติดตามสมาชิก FOMC
    กรกฎาคม 11, 2023
    รายการประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2023 จับทิศทางตลาด
    มิถุนายน 19, 2023
    รายการประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 จับตาสามเหตุการณ์หลัก
    พฤษภาคม 25, 2023
    รายการประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 จับตาประธาน FED คืนนี้
    พฤษภาคม 22, 2023
    รายการประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2023 ติดตามรายงานบ้านมือสองสหรัฐ
    พฤษภาคม 19, 2023
Reading: วิเคราะห์ผลกระทบต่อเอเชีย เมื่อ “เฟด” เปลี่ยนท่าทีนโยบาย
Dashboard Forexmonday
ForexMondayForexMonday
Aa
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Search
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Follow US
  • Advertise
© 2022 forexmonday News Network. Design Company. All Rights Reserved.
ForexMonday > Blog > ข่าวสำคัญ > หุ้นและข่าวต่างประเทศ > วิเคราะห์ผลกระทบต่อเอเชีย เมื่อ “เฟด” เปลี่ยนท่าทีนโยบาย

วิเคราะห์ผลกระทบต่อเอเชีย เมื่อ “เฟด” เปลี่ยนท่าทีนโยบาย

admin
Last updated: 2021/12/06 at 3:21 PM
admin Published ธันวาคม 6, 2021
Share
SHARE

คำชี้แจงของ “เจอโรม พาวเวลล์” ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรส เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ว่าการประชุมเฟดวันที่ 14-15 ธ.ค.นี้ จะมีการหารือเกี่ยวกับการเร่งความเร็วในการลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เป็นปัจจัยใหม่ที่เข้าไปสมทบนอกเหนือจากโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จนทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งอย่างหนัก ทำให้สถานการณ์พลิกจากสีเขียวในช่วงตลาดล่วงหน้า มาเป็นสีแดงเมื่อเปิดตลาดจริง โดยดาวโจนส์ปรับลงถึง 620 จุด

ประธานเฟดบอกกับคองเกรสว่า อาจจะพิจารณาเร่งลดการซื้อพันธบัตรเร็วกว่ากำหนดเดิม 2-3 เดือน พร้อมกันนี้ยังระบุว่าจะเลิกใช้คำว่า “ชั่วคราว” กับสภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันที่ถีบตัวสูงในรอบ 30 ปี สารที่ส่งออกมาจากประธานเฟดถูกตีความว่าจะมีการเริ่มใช้นโยบายการเงินตึงตัว ซึ่งหมายถึงอาจมีการขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น

การเปลี่ยนแปลงท่าทีของเฟดจาก “พิราบ” หรือนโยบายการเงินผ่อนคลายไปเป็น “เหยี่ยว” หรือนโยบายการเงินที่ตึงขึ้น มีความหมายอย่างไรต่อตลาดเอเชีย เป็นสิ่งที่บรรดานักวิเคราะห์พากันเฝ้าจับตาและพยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ตามข้อมูลของบลูมเบิร์ก ที่รวบรวมความเห็นของนักวิเคราะห์เอาไว้ ระบุว่า การเร่งลดวงเงินคิวอีและการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ จะส่งผลเสียต่อตลาดหุ้นที่มีค่าเบต้าสูง อย่างเช่นตลาดเกิดใหม่ (EM)

แต่อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของ “ซู ตรินห์” กรรมการผู้จัดการแมนูไลฟ์ อินเวสต์เมนต์ แมเนจเมนต์ บอกว่า ในมุมมองของบริษัทเห็นว่าตลาดเกิดใหม่ในเอเชียอยู่ในฐานะที่สามารถทนทานต่อความผันผวนของนโยบายการเงิน เพราะเงินเฟ้อเอเชียได้รับการควบคุมมากกว่า อีกทั้งพึ่งพาเงินลงทุนต่างชาติน้อยกว่าตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคอื่น แต่ข่าวร้ายก็คือเอเชียพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป

อัลวิน ที. ตัน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์อัตราแลกเปลี่ยนของอาร์บีซี แคปิตอล มาร์เก็ต ในฮ่องกง คาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไป รวมทั้งตลาดหุ้นเอเชีย ส่วน เทอร์เรนซ์ อู นักกลยุทธ์อัตราแลกเปลี่ยนของโอเวอร์ซี ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ป ในสิงคโปร์ ระบุว่าค่าเงินบาทไทยอาจตกอยู่ในความเสี่ยงมากที่สุด เพราะผลกระทบจากการกลับมาระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 อาจทำให้นักท่องเที่ยวไม่กลับมา

ที่สำคัญกว่านั้นเราจะเฝ้ามองพัฒนาการของค่าเงินหยวนอย่างใกล้ชิด โดยเงินหยวนแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยปกป้องค่าเงินของเอเชีย แต่ถ้าหากเงินหยวนส่งสัญญาณอ่อนค่า ก็คาดว่าการไหลออกของเงินทุนในตลาดเกิดใหม่เอเชียจะสูงขึ้น

ไมเคิล เรเนอร์ พริส นักกลยุทธ์การลงทุนของโกลเด้น อีเควเตอร์ เวลท์ มองว่า หากการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างสุดโต่ง จะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นเอเชียและ EM แต่ตลาดจีนและตลาดอาเซียนขนาดใหญ่ เช่นอินโดนีเซีย อาจมีผลงานโดดเด่นกว่าตลาดตะวันตกในปีหน้าตามกฎแห่งการเข้าสู่ค่าเฉลี่ย ส่วนตลาดจีนก็มีการปรับฐานครั้งใหญ่ จึงทำให้มูลค่าหุ้นจีนน่าสนใจกว่า

ทางด้าน “คูน โกะห์” หัวหน้าฝ่ายวิจัยเอเชียของออสเตรเลีย & นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ชี้ว่า แม้ถ้อยแถลงของเฟดจะบ่งบอกว่าอาจขึ้นดอกเบี้ยกลางปีหน้า แต่จะเห็นว่าเงินดอลลาร์ไม่ได้แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะคำแถลงของเฟดสอดคล้องกับความคาดหวังของตลาด

ดังนั้นผลกระทบที่มีต่อค่าเงินเอเชียน่าจะมีลักษณะคละเคล้า โดยค่าเงินของประเทศที่การส่งออกแข็งแกร่งและพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก เช่น วอนของเกาหลีใต้ หยวนของจีน และดอลลาร์สิงคโปร์ จะไปได้ดี

ขณะที่ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียจะได้รับผลกระทบเล็กน้อยอันเนื่องมาจากเงินต่างชาติที่ไหลเข้าซื้อพันธบัตรจะลดลง ส่วนค่าเงินบาทจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะกระทบการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแค่ไหน

“โทโมะ คิโนชิตะ” นักกลยุทธ์ตลาดโลกของอินเวสโก แอสเซต แมเนจเมนต์ ระบุว่า หลังถ้อยแถลงของเฟดจะเห็นว่าตลาดหุ้นและค่าเงินของเอเชียยังไต่ขึ้น เป็นเพราะสารของเฟดไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมาย และการที่ประธานเฟดยอมรับว่าโอไมครอนสร้างความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจได้ลดทอนน้ำเสียงแบบเหยี่ยวลง

แหล่งที่มาของข่าว

https://www.prachachat.net/world-news/news-814238

You Might Also Like

การคาดการณ์รายสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐ: ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) … ?

ราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มเชิงลบ ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนเชิงบวกและความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่ฟื้นตัว

🔎 เจาะลึกคลังทองคำ Fort Knox ของสหรัฐ เล็งปรับมูลค่าดันทองโลกพุ่ง 💰✨

🇷🇺 เครมลินยินดีต่อแนวทางใหม่ของสหรัฐฯ หลังทรัมป์วิจารณ์เซเลนสกี 🇺🇸

🇺🇸 ทรัมป์-ปูติน อาจพบกัน ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการยุติสงครามยูเครน 🇷🇺 รูบิโอกล่าว

TAGGED: fed, federal reserve, นโยบาย, นโยบายการเงิน
admin ธันวาคม 6, 2021
Share this Article
Facebook Twitter Email Print
Previous Article การถือครองทองคำเนื่องจาก Omicron
Next Article อังกฤษยกระดับคุมพรมแดนสกัดโควิด
Track all markets on TradingView

Follow US

Find US on Social Medias
87k Like
64.1k Follow
2.3k Follow
31k Subscribe

Weekly Newsletter

Subscribe to our newsletter to get our newest articles instantly!

Popular News
ข่าวสำคัญหุ้นและข่าวต่างประเทศ

ภาวะธุรกิจออสเตรเลียแกร่ง-เงินเฟ้อสูง อาจกระตุ้นมาตรการคุมเข้มด้านการเงิน

admin admin กันยายน 12, 2023
🔔 **ประสานเสียง ไทย-จีน! รมต.กลาโหมสหรัฐ-จีน พูดคุยครั้งแรกนับปี ’65** 🇹🇭🇨🇳
🏠📈✨ ตลาดบ้านนิวซีแลนด์มีชีวิตชีวา! ราคาคงที่ แต่กิจกรรมพุ่งขึ้น – REINZ 🌿🌏 #ตลาดอสังหาริมทรัพย์ #นิวซีแลนด์
📉🇺🇸 คาดเฟดคงอัตราดอกเบี้ยเดือนมี.ค. / มีแนวโน้มปรับลดเดือนพ.ค. หลังการประชุมเมื่อวานนี้! 🔍💼
บลูมเบิร์ก คาดGDPโลก Q4/64 โต0.7% หลังศก.โลกเผชิญแรงกดดันโควิดโอไมครอน
- Advertisement -
Ad imageAd image
Global Coronavirus Cases

Confirmed

0

Death

0

More Information:Covid-19 Statistics

You Might Also Like

การคาดการณ์รายสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐ: ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) … ?

พฤษภาคม 5, 2025

ราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มเชิงลบ ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนเชิงบวกและความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่ฟื้นตัว

เมษายน 29, 2025

🔎 เจาะลึกคลังทองคำ Fort Knox ของสหรัฐ เล็งปรับมูลค่าดันทองโลกพุ่ง 💰✨

กุมภาพันธ์ 25, 2025

🇷🇺 เครมลินยินดีต่อแนวทางใหม่ของสหรัฐฯ หลังทรัมป์วิจารณ์เซเลนสกี 🇺🇸

กุมภาพันธ์ 24, 2025
Previous Next
about us

.

71k Like
62.2k Follow
2.1k Follow
16.1k Subscribe

© forexmonday.com. Design Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?