By using this site, you agree to the Privacy Policy and Terms of Use.
Accept
ForexMonday
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
    ข่าวสำคัญShow More
    ทั่วโลกจับตาถ้อยแถลง “พาวเวล” คืนนี้ 03.00 น. หาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟด
    กันยายน 29, 2023
    🔥กนง. มติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%
    กันยายน 27, 2023
    EURAUD ยังคงมีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 27/09/2023
    กันยายน 27, 2023
    👀”โกลด์แมนแซคส์” ชี้บริษัทบัตรเครดิตมะกันเสี่ยงขาดทุนหนักสุดในรอบ 30 ปี
    กันยายน 27, 2023
    🔥ญี่ปุ่นจ่อแทรกแซงตลาด FX หลังเยนร่วงใกล้แตะระดับ 150 เยน/ดอลล์
    กันยายน 27, 2023
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
    ปฏิทินเศรษฐกิจShow More
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 22, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 3, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2023
    สิงหาคม 2, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2023
    กรกฎาคม 11, 2023
    ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2023
    มิถุนายน 19, 2023
  • บทวิเคราะห์
    บทวิเคราะห์Show More
    AUDJPY เริ่มมีโอกาสร่วงลงไปยะสั้น 27/09/2023
    กันยายน 27, 2023
    USD กับการประกาศเงินเฟ้อสหรัฐในช่วงเวลา 19:30 น. วันที่ 13/09/2023
    กันยายน 13, 2023
    US30USD มีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 12/09/2023
    กันยายน 12, 2023
    AUDJPY แกว่งตัวระยะสั้น 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
    EURUSD มีโอกาสร่วงลงต่อเนื่อง 8/09/2023
    กันยายน 8, 2023
  • วิดีโอ
    วิดีโอShow More
    รายการประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2023 ติดตามสมาชิก FOMC
    กรกฎาคม 11, 2023
    รายการประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2023 จับทิศทางตลาด
    มิถุนายน 19, 2023
    รายการประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 จับตาสามเหตุการณ์หลัก
    พฤษภาคม 25, 2023
    รายการประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2023 จับตาประธาน FED คืนนี้
    พฤษภาคม 22, 2023
    รายการประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2023 ติดตามรายงานบ้านมือสองสหรัฐ
    พฤษภาคม 19, 2023
Reading: BOJ คาดเงินเฟ้อญี่ปุ่นพุ่งแตะเป้าหมาย 2%
Dashboard Forexmonday
ForexMondayForexMonday
Aa
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Search
  • หน้าแรก
  • ข่าวสำคัญ
  • ปฏิทินเศรษฐกิจ
  • บทวิเคราะห์
  • วิดีโอ
  • Dashboard Forexmonday
Follow US
  • Advertise
© 2022 forexmonday News Network. Design Company. All Rights Reserved.
ForexMonday > Blog > ข่าวสำคัญ > หุ้นและข่าวต่างประเทศ > BOJ คาดเงินเฟ้อญี่ปุ่นพุ่งแตะเป้าหมาย 2%

BOJ คาดเงินเฟ้อญี่ปุ่นพุ่งแตะเป้าหมาย 2%

admin
Last updated: 2022/01/26 at 5:17 PM
admin Published มกราคม 26, 2022
Share
SHARE

BOJ คาดเงินเฟ้อญี่ปุ่นพุ่งแตะเป้าหมาย 2% แต่ยังไม่มีแผนคุมเข้มนโยบายการเงินตามเฟด

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานสรุปมุมมองเศรษฐกิจ (Summary of Opinions) จากการประชุมประจำเดือนม.ค. โดยระบุว่า กรรมการ BOJ คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญของญี่ปุ่น จะดีดตัวขึ้นสู่เป้าหมายของ BOJ ที่ระดับ 2% และเชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไปหากค่าจ้างยังคงมีการขยายตัว

อย่างไรก็ดี กรรมการบางส่วนของ BOJ มองว่าควรจะดำเนินนโยบายการเงินเชิงรุกต่อไป ซึ่งมุมมองดังกล่าวได้บดบังกระแสคาดการณ์ที่ว่า BOJ อาจจะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่วางแผนจะปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่ภาวะปกติเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจซึ่งเปิดเผยหลังเสร็จสิ้นการประชุมในวันที่ 18 ม.ค.ระบุว่า BOJ ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้นสู่ระดับ 1.1% จากเดิมที่ระดับ 0.9% เนื่องจากราคาพลังงานและวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่เงินเยนอ่อนค่าลง

นอกจากนี้ BOJ ได้ปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2565 ขึ้นสู่ระดับ 3.8% จากเดิมที่ระดับ 2.9% โดยระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจถือเป็น “หลักฐาน” ที่พิสูจน์ว่าผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มลดน้อยลง

ทางด้านนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ แถลงภายหลังการประชุมในวันดังกล่าวว่า เขาไม่คิดว่า BOJ มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในปัจจุบันหรือหารือเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเชื่อว่า การพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น

“เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เกิดจากการใช้จ่ายผู้บริโภค จะพุ่งขึ้นใกล้แตะเป้าหมายของ BOJ ที่ระดับ 2% ขณะนี้เรายังไม่คิดถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายซึ่งเราใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเราไม่มีการอภิปรายกันในเรื่องเหล่านี้” นายคุโรดะกล่าว

“อัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะยังคงอยู่ที่ราว 1% ดังนั้น BOJ จึงไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในขณะนี้ ส่วนในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ญี่ปุ่นเผชิญแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ” นายคุโรดะกล่าว

แหล่งที่มาของข่าว

https://www.ryt9.com/s/iq27/3292102

You Might Also Like

ทั่วโลกจับตาถ้อยแถลง “พาวเวล” คืนนี้ 03.00 น. หาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟด

🔥กนง. มติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%

EURAUD ยังคงมีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 27/09/2023

👀”โกลด์แมนแซคส์” ชี้บริษัทบัตรเครดิตมะกันเสี่ยงขาดทุนหนักสุดในรอบ 30 ปี

🔥ญี่ปุ่นจ่อแทรกแซงตลาด FX หลังเยนร่วงใกล้แตะระดับ 150 เยน/ดอลล์

TAGGED: BOJ, Inflation, ธนาคารกลางญี่ปุ่น, เงินเฟ้อ
admin มกราคม 26, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Print
Previous Article “สี จิ้นผิง” ย้ำเป้าหมายคาร์บอนต่ำต้องไม่กระทบความมั่นคง
Next Article คำต่อคำ: แถลงการณ์ประชุมธนาคารกลางสหรัฐเดือนม.ค. 2565

Follow US

Find US on Social Medias
73k Like
62.3k Follow
2.1k Follow
20.3k Subscribe

Weekly Newsletter

Subscribe to our newsletter to get our newest articles instantly!

Popular News
ปฏิทินเศรษฐกิจ

ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2023

admin admin สิงหาคม 3, 2023
AUDCHF ยังคงเป็นขาลงระยะสั้น 27/06/2023
ปฏิทินเศรษฐกิจประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2021
สื่อตีข่าว “คิม จองอึน” เดินทางเยือนรัสเซีย ร่วมถก “ปูติน” สัปดาห์นี้
สหรัฐจ่อแบนส่งออกรอบใหม่ ขวางจีนเข้าถึงเทคโนโลยีควอนตัม-เอไอ
- Advertisement -
Ad imageAd image
Global Coronavirus Cases

Confirmed

0

Death

0

More Information:Covid-19 Statistics

You Might Also Like

ทั่วโลกจับตาถ้อยแถลง “พาวเวล” คืนนี้ 03.00 น. หาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟด

กันยายน 29, 2023

🔥กนง. มติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%

กันยายน 27, 2023

EURAUD ยังคงมีโอกาสฟื้นตัวระยะสั้น 27/09/2023

กันยายน 27, 2023

👀”โกลด์แมนแซคส์” ชี้บริษัทบัตรเครดิตมะกันเสี่ยงขาดทุนหนักสุดในรอบ 30 ปี

กันยายน 27, 2023
Previous Next
about us

.

71k Like
62.2k Follow
2.1k Follow
16.1k Subscribe

© forexmonday.com. Design Company. All Rights Reserved.

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?